โรคกระดูกพรุนเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคกระดูกที่พบได้บ่อย โดยผู้หญิงจะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายด้วยนะครับ ทั้งนี้ก็เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง) เพราะว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนจะไปทำให้เกิดการสะสมและป้องกันการสูญเสียของแคลเซียมจากกระดูก ดังนั้นผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้นและเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก็จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนได้สูงนั้นเอง
วิธีที่เค้าใช้รักษาโรคนี้ คือการใช้ยาควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครับโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็เช่น การได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ การได้รับวิตามินดี การออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์การงดสูบบุหรี่ ฯลฯ ส่วนยาที่เค้าใช้ในการรักษานะครับ ตัวเลือกแรกเลยที่เค้าจะเลือกใช้สำหรับการรักษาโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก็คือ ยาชนิดรับประทานของยากลุ่ม Bisphosphonatesครับ ซึ่งผู้ที่ได้รับยานี้ต้องให้ความใสใจกับยานี้หน่อยนะครับ....ไม่ใช่ว่ายานี้อันตรายหรือส่งผลข้างเคียงที่รุนแรงหรือน่ากลัวหรอกนะแต่ยานี้ (แบบชนิดรับประทาน) มันมีปัญหาเรื่องการดูดซึมครับ พบว่ายาถูกดูดซึมได้ไม่ถึง 1 % เอง การจะรับประทานยาจึงมีระเบียบ มีข้อบังคับ มีกฎกติกามากหน่อย แต่ยานี้เป็นยาที่มีประสิทธิภาพดีนะครับ ยับยั้งการสลายกระดูก ผลช้างเคียงก็น้อย ปลอดภัยอีกต่างหาก

ยาในกลุ่ม Bisphosphonates จะมีทั้งที่เป็นแบบยาเม็ดรับประทานและแบบที่เป็นยาฉีด สำหรับสตรีวัยหมดประจำเดือนและกระดูกพรุนจากสเตียรอยด์หรือแม้แต่กระทั้งการรักษากระดูกพรุนในผู้ชายก็แนะนำให้ใช้ยาเม็ดรับประทานก่อน
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ยา Bisphosphonates ที่เป็นยาฉีด มักจะถูกเก็บไว้ใช้ในกรณีโรคทางกระดูกที่ดูรุนแรงมากกว่า อีกอย่าง ถ้าเกิดใช้ยาชนิดรับประทานของยาในกลุ่ม Bisphosphonates แล้วมีอาการทางไตหรือทนต่อผลข้างเคียงที่เกิดจากการกินยาไม่ไหว ก็จะพิจารณายาฉีดกลุ่ม Bisphosphonates แทนได้ครับ
ยาชนิดรับประทานของยาในกลุ่ม Bisphosphonates มีผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์อย่างหนึ่งที่ยาฉีดไม่มี นั้นคือ การมีผลโดยตรงต่อเยื่อบุทางหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร ดังนั้นคนที่รับประทานยานี้จึงอาจมีอาการ แสบยอดอก แสบท้อง ปวดท้อง ได้ครับ แต่เราก็สามารถป้องกันอาการดังกล่าวไม่ให้เกิดขึ้นได้นะครับ ด้วยการรับประทานยาอย่างถูกต้อง
จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า ยากินที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน (ยาชนิดรับประทานของยาในกลุ่ม Bisphosphonates) จะต้องมีกฎระเบียบในการใช้ยา (เพื่อช่วยเรื่องการดูดซึมและเรื่องอาการไม่พึงประสงค์) โดยกฏระเบียบมีดังนี้ครับ
-
รับประทานยาตอนที่ท้องว่าง ไม่มีอาหารรบกวนการดูดซึมยา แนะนำเป็นตอนเช้า ตื่นนอนมา กินยาเลย
-
รับประทานยากับน้ำเปล่าตามประมาณ 1 แก้ว ไม่ควรรับประทานร่วมกับแคลเซียมเหล็ก ชา กาแฟ น้ำส้ม
-
หลังรับประทานยาแล้วให้นั่งตัวตรง อย่านอนราบอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง
ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อตัวเราเอง
ที่มา
https://www.medscape.com/viewarticle/584445_1
http://ndi.fda.moph.go.th/uploads/main_drug_file/20171115141931.pdf
#อาวุโสโซไซตี้
#เพื่อนที่รู้ใจของรุ่นใหญ่ตัวจริง