
ทำอย่างไร เมื่อ ‘หู’ ไม่ค่อยได้ยิน
สาเหตุของการสูญเสียการได้ยิน (หูดับ)
1 ความผิดปกติที่เกิดบริเวณหูชั้นนอกที่ทำให้เกิดอาการ หูอื้อ หูตึง ได้แก่ การมีขี้หูอุดตันรูหู รูหูอักเสบหรือเป็นเชื้อรา
2 สาเหตุจากความผิดปกติของหูชั้นกลาง ได้แก่ เยื้อแก้วหูทะลุ มีน้ำขังในหูชั้นกลาง (Serous otitis media) โรคหูน้ำหนวก โรคหินปูนเกาะที่กระดูกนำเสียง ความผิดปกติของท่อปรับความดันอากาศ (Eustachian tube) เป็นต้น
3 สาเหตุของการสูญเสียการได้ยินที่พบได้บ่อยที่สุดคือ สาเหตุจากหูชั้นในผิดปกติ
โรคที่ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินจากหูชั้นในนี้ ได้แก่
1 การเสื่อมตามอายุ
2 การอักเสบของหูชั้นใน (Labyrinthitis)
3 ประสาทหูโดนทำลายจากการได้รับเสียงดังมากเกินขนาด (Noise induce hearing loss)
4 ซิฟิลิสของหู
5 เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเข้าสู่หูชั้นใน หรือเส้นประสาทหู
6 สาเหตุทางกรรมพันธุ์ เช่น โรคหูตึงทางกรรมพันธุ์
7 สาเหตุจากโรคทางกาย เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
8 จากอุบัติเหตุ มีการแตกหักหรือกระทบกระเทือนต่ออวัยวะในหูชั้นใน
9 เนื้องอกของเส้นประสาทการได้ยิน หรือเส้นประสาทการทรงตัว
ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย
1. แพทย์จะทำการซักประวัติอย่างละเอียดเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยินของท่าน ซึ่งควรจะตอบให้ละเอียด สิ่งที่แพทย์ต้องการทราบ ได้แก่
◦ ระยะเวลาที่เริ่มเกิดอาการหูอื้อ หูตึง หูดับ
◦ ลักษณะอาการที่เป็น เป็นแบบทันทีทันใด เป็นๆ หายๆ หรือค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
◦ อาการร่วมทางหู เช่น มีเสียงรบกวนในหู อาการเวียนศีรษะ เป็นต้น
◦ อาการร่วมอื่นๆ เช่น อาการชาใบหน้า เดินเซ
◦ ประวัติการใช้ยา และโรคประจาตัว
◦ ประวัติโรคหูตึงในครอบครัว
◦ ประวัติการได้ยินเสียงดัง เช่น ยิงปืน จุดประทัด ทางานในโรงงาน เป็นต้น
2. แพทย์จะทำการตรวจหูอย่างละเอียด ตรวจจมูก และคอ นอกจากนั้นก็จะตรวจระบบประสาท เส้นประสาทสมองต่างๆ
3. ตรวจพิเศษต่าง ๆ
◦ การตรวจการได้ยิน (Audiogram) เพื่อดูว่าท่านมีการสูญเสียการได้ยินมากน้อยเพียงใด เป็นชนิดไหน ที่ความถี่อะไรบ้าง
◦ การตรวจวัดสมรรถภาพของหูชั้นกลาง (Tympanogram)
◦ การตรวจดูคลื่นของเส้นประสาทการได้ยิน และก้านสมอง (Evoke auditory response) ในรายที่สงสัยมีความผิดปกติของเส้นประสาทการได้ยิน
4. ถ้ายังหาสาเหตุไม่พบ หรือในรายที่แพทย์สงสัยจะมีเนื้องอก อาจต้องตรวจเอ็กซเรย์สนามแม่เหล็ก (CT/MRI) เป็นต้น
5. การตรวจเลือดเบาหวาน โรคไต ไขมัน คลอเรสเตอรอล ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง เชื้อซิฟิลิสหรือภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นต้น
การรักษาและการป้องกัน
ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุของโรค
• โรคหูชั้นนอกและชั้นกลาง สามารถรักษาทางยา หรือการผ่าตัด
• สำหรับโรคของหูชั้นในเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน การรักษาขึ้นกับสาเหตุ อาจจะต้องให้การรักษาต่อเนื่องในรายที่มาพบแพทย์ค่อนข้างช้า การรักษามักไม่ค่อยได้ผลดี
• สำหรับการป้องกันโดยทั่วไป คือ หลีกเลี่ยงจากปัจจัยต่างๆ ที่จะทำลายหู ได้แก่ หลีกเลี่ยงภาวะที่มีเสียงดังมาก หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำลายประสาทหู และรีบมาพบแพทย์เมื่อมีอาการ เป็นต้น
สาเหตุที่ทำให้ประสาทหูพิการ (หูดับ)
1 การอักเสบติดเชื้อในหูชั้นกลาง หูชั้นใน หรือในสมอง จากเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคซิฟิลิสขึ้นสมอง โรคงูสวัดใบหู โรคคางทูม โรคหัดเยอรมัน เป็นต้น
2 พิการแต่กำเนิด มักเกิดจากมารดาติดเชื้อหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์ หรือใช้ยาที่มีฤทธิ์ทาลายประสาทหูทารกในครรภ์ ในรายที่หูหนวกแต่กำเนิด หากไม่ได้รับการรักษาฟื้นฟูเด็กมักเป็นใบ้ และในรายที่หูหนวกขณะเป็นผู้ใหญ่จะมีปัญหาในการสื่อสาร และอาจทำให้ต้องออกจากงาน
การรักษาคนที่หูไม่ได้ยิน (หูดับ)
1 กรณีที่มีสาเหตุจากหูน้ำหนวกหรือหูชั้นกลางอักเสบ สามารถผ่าตัดแก้ไขได้
2 กรณีที่สาเหตุเกิดจากประสาทหูพิการ
2.1 มีอาการไม่มาก และเริ่มมีอาการไม่เกิน 1 เดือน อาจรักษาได้ด้วยยารับประทาน
2.2 สูญเสียการได้ยินไม่มากสามารถรักษาฟื้นฟูได้ โดยการใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งเป็นเครื่องขยายเสียงขนาดเล็กใช้สอดใส่เข้าไปในรูหู หรือวางทัดหลังหู
2.3 ผู้ที่มีประสาทหูพิการรุนแรงที่เรียกว่าหูหนวกหรือเกือบหนวก การใส่เครื่องช่วยฟังมักไม่ได้ผล จำเป็นต้องใช้การรักษาแนวใหม่ คือการฝังประสาทหูเทียมซึ่งต้องใช้ความพิถีพิถันและความร่วมมือเป็นพิเศษระหว่างทีมแพทย์ผ่าตัดและผู้เชี่ยวชาญสาขาโสตสัมผัสและการพูด
#อาวุโสโซไซตี้ #คนสูงอายุ #สูงวัย #อาวุโส
Follow Line@: @happyseniorclub หรือ
Follow Facebook:
WebSite:
ขอบคุณข้อมูลจาก: โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์