โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่มีการเสื่อมขอเซลล์สมอง สาเหตุที่อยู่ดี ๆ เรามาเป็นโรคนี้ได้ เค้าก็ยังไม่ได้ฟันธงออกมานะครับ บางคนอาจจะนึกว่า "พันธุกรรมหรือป่าว?" มีคำตอบว่า "ไม่ใช่นะครับ" การพบผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ที่เกิดในครอบครัวเดียวกันมันก็มี แต่พบน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นแบบที่ไม่ทราบสาเหตุและไม่เกี่ยวกับกรรมพันธุ์
ปัจจุบันมีการศึกษาที่เชื่อว่าอายุที่มากขึ้นเป็นปัจจัยที่ได้รับการยืนยันมากที่สุด สิ่งที่เราควรทำความเข้าใจกับโรคอัลไซเมอร์ คือ โรคนี้ยังไม่สามรถรักษาให้หายขาดได้ การใช้ยาเป็นเพียงการประคับประคองอาการและชะลอความรุนแรงหรือการดำเนินของโรค
โรคอัลไซเมอร์จะสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
1. ระยะแรก หรือ mild เป็นระยะที่เริ่มๆ คือ ผู้ป่วยจะมีอาการขี้ลืมโดยเฉพาะความจำระยะสั้น แบบ "เอ๊ะ! เราปิดน้ำรึยังนะ (ทั้ง ๆ ที่เพิ่งออกมาจากห้องน้ำ)" และสูญเสียสมาธิ ในระยะนี้นะครับ อาจจะวินิจฉัยยากหน่อยว่าเป็นระยะของโรคหรือเป็นลักษณะของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยคงต้องคอยหมั่นสังเกตตัวเองดูนะครับ
เมื่อโรคดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ มันจะเข้าสู่ระยะที่สอง
2. ระยะที่สอง หรือ moderate ในระยะนี้ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาเรื่องวัน เวลา และสถานที่แล้วครับ อย่างเช่น จำทางกลับบ้านไม่ถูก ฯลฯ จำชื่อญาติสนิทไม่ได้ พูดง่ายๆ ว่า ลืมชื่อญาติที่สนิทนั้นแหละ เริ่มหลง สับสน นอนไม่หลับ ชอบออกจากบ้าน มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ก้าวร้าว หงุดหงิด โกรธง่าย อะไรที่เคยทำมักจะไม่ทำ เช่น ดูทีวี อ่านหนังสือ
เมื่อโรคดำเนินต่อไปอีกซะ 2-3 ปี ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะที่สาม
3. ระยะที่สาม หรือ severe อาการต่างๆ มันจะรุนแรงมากขึ้นความจำแย่ลง จำชื่อญาติไม่ได้ การเคลื่อนไหวก็จะช้าลง ไม่ยอมเดิน กิจวัตรประจำวันที่เคยทำ ก็ไม่ทำ เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน ไม่ค่อยพูด ข้าวปลาก็ไม่กิน กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้
พอรู้อย่างนี้เราอย่าตื่นตะหนกนะครับแต่เราควรตะหนักมากกว่าครับ เพราะคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ในระยะแรกมักพบในคนที่อายุ 65 ปี (แต่บางรายก็พบว่าเป็นโรคนี้ตอนอายุ 40 ปีก็มีครับ)
คงไม่มีใครที่เข้าใจตัวเองได้ดีมากกว่าตัวเราเองหรอกครับการรู้เร็วและทำการรักษาเร็วมันก็จะช่วยให้การดำเนินของโรคชะลอไปครับ อีกอย่างผู้ดูแลถ้ามีความเข้าใจต่อโรคอัลไซเมอร์ก็จะเข้าใจพฤติกรรมของผู้ป่วยนะครับ ผู้ที่ดูแลจะได้ไม่หงุดหงิด ไม่เครียดแล้วก็ไม่ทำให้ผู้ป่วยมีความเครียดด้วย
ที่มา
#อาวุโสโซไซตี้
#เพื่อนที่รู้ใจของรุ่นใหญ่ตัวจริง